สมาชิก

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
บทความ
y
สถิติ
เปิดเมื่อ4/05/2011
อัพเดท11/10/2017
ผู้เข้าชม99375155
แสดงหน้า179148940
จดหมายข่าว


ภัยเงียบ! มีภาวะสมองล้า มาดูทางแก้ก่อนชีวิตอันตราย

ภัยเงียบ! มีภาวะสมองล้า มาดูทางแก้ก่อนชีวิตอันตราย
อ้างอิง อ่าน 11 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

    ใครประสบปัญหารู้สึกว่าสมองทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ อ่อนเพลีย จำอะไรไม่ค่อยได้ คิดอะไรไม่ค่อยออกอยู่บ้าง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของคุณกำลังประท้วงและอยู่ใน ‘ภาวะสมองล้า’ โดยไม่รู้ตัว แล้วอาการสมองล้าคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด แล้วจะมีวิธีรับมืออย่างไรให้ถูกต้อง บทความนี้บอกให้ครบจบทุกประเด็น!

 

 

    ภาวะสมองล้า (Brain Fog) คือ ภาวะที่สมองมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง ส่งผลให้เกิดความบกพร่องในด้านการคิด การจดจำ การเรียนรู้ การตัดสินใจ และสมาธิ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน และความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งสัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าสมองของคุณอยู่ในภาวะอ่อนล้าก็มีอยู่หลายประการ สามารถเช็กตัวเองเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ผ่านอาการเหล่านี้

- รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดแรง

- จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ยากขึ้น

- คิดช้าลง ตัดสินใจช้าลง

- สมาธิสั้น วอกแวกง่าย

- มีปัญหาในการคิดสร้างสรรค์

- อารมณ์แปรปรวนง่าย

- นอนหลับไม่สนิท

 

    สาเหตุของการเกิดภาวะสมองล้า

อาการสมองล้าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ที่มักพบบ่อย ได้แก่

- ความเครียด เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด เนื่องจากความเครียดส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองโดยตรงนั่นเอง

- การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายไม่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มที่ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมองได้

- การขาดสารอาหารรบางชนิด เช่น วิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และโอเมก้า 3 ก็สามารถส่งผลต่อการทำงานของสมองได้เช่นกัน

- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้ปวด ยาลดความดันโลหิต และยารักษาโรคซึมเศร้า 

- โรคบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน ที่มีผลกระทบต่อการทำงานของสมอง

 

    วิธีรับมือกับภาวะสมองล้า

    หากคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังมีอาการของสมองล้าตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือเป็นคนที่มีพฤติกรรมอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอาการสมองล้าได้ คุณสามารถรับมือกับอาการเหล่านี้ในเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

- พักผ่อนให้เพียงพอ โดยผู้ใหญ่ควรนอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูเต็มที่

- หาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น การฟังเพลง การอ่านหนังสือ การนวด การออกกำลังกาย หรือออกไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ

- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักและผลไม้สด เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน

- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่

- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน

 

หากมีอาการของภาวะสมองล้า ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วก็ยังรู้สึกว่าไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม ก่อนอาการจะลุกลามและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคต


 
 
w.cassie [49.229.125.xxx] เมื่อ 27/11/2023 09:30
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :